ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System) ประกอบด้วย ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล และหน่วยความจำ ที่ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นจาน บันทึก (Disk) สำหรับการจัดเก็บแบบเชื่อมตรง (on-line) หรืออาจจะเป็นแถบบันทึก (Tape) สำหรับ การจัดเก็บแบบไม่เชื่อมตรง (off-line) เพื่อใช้เป็น หน่วยเก็บสำรอง ระบบฐานข้อมูลแบบนี้สามารถ ถูกเรียกใช้งานได้จากจุดอื่นๆ ที่มีเครื่องปลายทาง (Terminal) ประจำอยู่ แต่ละฐานข้อมูลและ ซอฟต์แวร์จะอยู่รวมกันที่จุดเดียวเท่านั้น ซึ่งเมื่อ ระบบคอมพิวเตอร์เจริญมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาการ ในเรื่องเครือข่ายสำหรับการติดต่อดีมากขึ้น ทำให้ มีการศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ กระจายขึ้น เหตุจูงใจสำหรับการพัฒนาฐานข้อมูล แบบกระจายมีอยู่ด้วยกันหลายประการ ได้แก่
๑. งานฐานข้อมูลบางอย่างมีข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ หน่วยงานบางแห่ง อาจจะมีสาขาอยู่ตามจังหวัด ตัวอย่างเช่น ธนาคาร จะมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ข้อมูลของแต่ละสาขา ก็จะถูกเก็บไว้ที่สาขานั้นๆ แต่ในบางครั้งผู้บริหาร หน่วยงานที่ส่วนกลางอาจต้องการข้อมูลสรุป ซึ่ง ต้องใช้ข้อมูลจากหลายๆ สาขาทั่วประเทศ ซึ่งใน กรณีนี้ ระบบจัดการฐานข้อมูลควรจะมีความ สามารถในการดึงข้อมูลจากสาขาต่างๆ ได้ด้วย
๒. เพิ่มความน่าเชื่อถือและความทันสมัย ของข้อมูล สำหรับข้อมูลที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าของข้อมูล ณ จุดนั้น ข้อมูลใหม่จะถูกบันทึกแทนข้อมูลเก่าทันที และสามารถนำมาใช้งานได้ ณ เวลานั้น เนื่องจากซอฟต์แวร์สำหรับจัดการฐานข้อมูล กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ นอกจากนี้ ถ้าระบบในบางจุดย่อยเสียหาย และไม่สามารถทำงานได้ ระบบ ณ จุดอื่นๆ ก็ยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ แต่ถ้าเป็นแบบรวมศูนย์ เมื่อระบบเสียหาย เครื่องปลายทางใดๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้เลย
๓. เพื่อควบคุมการเข้าใช้ข้อมูล ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทำให้ผู้ดูแลระบบ สามารถกำหนดได้ว่า ผู้ใช้จากจุดใด สามารถเข้าใช้ข้อมูลจากจุดใดได้บ้าง และได้มากระดับใดด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น